สงกรานต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงกรานต์ (เขมร: សង្រ្កាន្ត, พม่า: သင်္ကြန်, ลาว: ສົງການ) เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ[1]
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์[2] จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่าอัตตาเถลิงศก ทุก ๆ ปี ค่าหรคุณเถลิงศกที่คำนวณได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 ตามปฏิทินเกรกอเรียน มาจนถึงปีที่ต้องการ สำหรับกระบวนการหาหรคุณเถลิงศก มีดังต่อไปนี้
จากผลที่ได้ ถ้าหารแบบสมัยใหม่โดยติดทศนิยม จะได้ว่าส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม นับ 0 ที่วันแรกของ จ.ศ. 0 ส่วนที่เป็นทศนิยม เป็นเศษส่วนของวันนับจาก 0 นาฬิกาของวันเถลิงศกไปหาเวลาเถลิงศก แต่ในสมัยโบราณการคำนวณด้วยทศนิยมเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ถ้าหารแบบติดเศษ แล้วเอาส่วนที่เป็นจำนวนเต็มบวก 1 ก็จะได้หรคุณเถลิงศก ส่วนที่เป็นเศษนั้นบอกถึงเวลานับแต่ 0 นาฬิกาไปหาเวลาเถลิงศกในหน่วยกัมมัช หากเอาไปหักลบออกจาก 800 ก็จะได้กัมมัชพลเถลิงศก หรือเวลาเป็นกัมมัชที่เหลือจนสิ้นวันเถลิงศก
เนื่องจากวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีหรคุณจูเลียนเป็๋น 1954167.5 เพื่อความง่ายจึงสามารถหาหรคุณจูเลียน (Julian day number) ของวันเถลิงศกได้ตามสูตร
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
ส่วนในต่างประเทศ ชาวไต หรือชาวไท ในสิบสองปันนา โดยเฉพาะเมืองจี่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน [6]โดยเรียกว่างานเทศกาลพัวสุ่ยเจี๋ย[7]
วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ[1]
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] วันในเทศกาลสงกรานต์
ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"การคำนวณวันเถลิงศกนั้น ตามคัมภีร์สุริยยาตร์[2] จะต้องมีการหาหรคุณเถลิงศก และค่าอื่น ๆ สำหรับคำนวณตำแหน่งดาวในปีนั้น ๆ เรียกว่าอัตตาเถลิงศก ทุก ๆ ปี ค่าหรคุณเถลิงศกที่คำนวณได้จะเป็นตัวเลขนับ 1 ที่วันเถลิงศก จ.ศ. 0 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 ตามปฏิทินเกรกอเรียน มาจนถึงปีที่ต้องการ สำหรับกระบวนการหาหรคุณเถลิงศก มีดังต่อไปนี้
- ตั้งเกณฑ์ 292207 ลง เอาจุลศักราชปีนั้นคูณ ได้เท่าใด เอา 373 บวก แล้วเอา 800 หาร ลัพธ์ (ส่วนที่เป็นคำตอบจำนวนเต็ม) เอา 1 บวก เป็นหรคุณเถลิงศก
- เอา 800 ตั้ง เอาเศษจากข้อก่อนมาลบ ได้ กัมมัชพลเถลิงศก
จากผลที่ได้ ถ้าหารแบบสมัยใหม่โดยติดทศนิยม จะได้ว่าส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม นับ 0 ที่วันแรกของ จ.ศ. 0 ส่วนที่เป็นทศนิยม เป็นเศษส่วนของวันนับจาก 0 นาฬิกาของวันเถลิงศกไปหาเวลาเถลิงศก แต่ในสมัยโบราณการคำนวณด้วยทศนิยมเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ถ้าหารแบบติดเศษ แล้วเอาส่วนที่เป็นจำนวนเต็มบวก 1 ก็จะได้หรคุณเถลิงศก ส่วนที่เป็นเศษนั้นบอกถึงเวลานับแต่ 0 นาฬิกาไปหาเวลาเถลิงศกในหน่วยกัมมัช หากเอาไปหักลบออกจาก 800 ก็จะได้กัมมัชพลเถลิงศก หรือเวลาเป็นกัมมัชที่เหลือจนสิ้นวันเถลิงศก
เนื่องจากวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1181 เวลา 00:00 น. มีหรคุณจูเลียนเป็๋น 1954167.5 เพื่อความง่ายจึงสามารถหาหรคุณจูเลียน (Julian day number) ของวันเถลิงศกได้ตามสูตร
JD วันเถลิงศก = [(292207* (พ.ศ.-1181) + 373)/800] + 1954167.5
JD วันมหาสงกรานต์ = [(292207* (พ.ศ.-1181) - 1359)/800] + 1954167.5
[แก้] ตารางวันสงกรานต์
จากหลักการที่แสดงไว้ข้างต้น ทำให้สามารถคำนวณวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกในแต่ละปีได้ ตารางต่อไปนี้เป็นวันมหาสงกรานต์และวันเถลิงศกของปีนี้ และปีก่อนหน้าห้าปี และปีถัดไปอีกห้าปี สังเกตว่าบางปีจะมีเทศกาลสงกรานต์ตามที่คำนวณได้อยู่ทั้งหมดสี่วันพ.ศ. | จ.ศ. | วันมหาสงกรานต์ (โดยประมาณ) | วันเถลิงศก | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วันที่ | เดือน | เวลา | วันที่ | เดือน | เวลา | ||||||
นาฬิกา | นาที | วินาที | นาฬิกา | นาที | วินาที | ||||||
2551 | 1370 | 13 | เมษายน | 18 | 55 | 48 | 15 | เมษายน | 22 | 53 | 24 |
2552 | 1371 | 14 | เมษายน | 01 | 08 | 24 | 16 | เมษายน | 05 | 06 | 00 |
2553 | 1372 | 14 | เมษายน | 07 | 21 | 00 | 16 | เมษายน | 11 | 18 | 36 |
2554 | 1373 | 14 | เมษายน | 13 | 33 | 36 | 16 | เมษายน | 17 | 31 | 12 |
2555 | 1374 | 13 | เมษายน | 19 | 46 | 12 | 15 | เมษายน | 23 | 43 | 48 |
2556 | 1375 | 14 | เมษายน | 01 | 58 | 48 | 16 | เมษายน | 05 | 56 | 24 |
2557 | 1376 | 14 | เมษายน | 08 | 11 | 24 | 16 | เมษายน | 12 | 09 | 00 |
2558 | 1377 | 14 | เมษายน | 14 | 24 | 00 | 16 | เมษายน | 18 | 21 | 36 |
2559 | 1378 | 13 | เมษายน | 20 | 36 | 36 | 16 | เมษายน | 00 | 34 | 12 |
2560 | 1379 | 14 | เมษายน | 02 | 49 | 12 | 16 | เมษายน | 06 | 46 | 48 |
2561 | 1380 | 14 | เมษายน | 09 | 01 | 48 | 16 | เมษายน | 12 | 59 | 24 |
[แก้] ตำนานนางสงกรานต์
ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[4] กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัยต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
- ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
- ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต (เลือด) พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังพระยาวราหะ (หมู)
- ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มัณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงของ้าว พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังพระยาคชสาร (ช้าง)
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
- ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
- วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
- วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
- วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี
- วันพุธ ชื่อ นางมันทะ
- วันพฤหัส ชื่อ นางกัญญาเทพ
- วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
- วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
[แก้] กิจกรรมในวันสงกรานต์
- การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
- การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
- การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
- บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
- การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
- การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
- การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
- การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด
[แก้] สงกรานต์ในแต่ละท้องที่
แม้สงกรานต์จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีนแต่สงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดในสายตาชาวโลกคือสงกรานต์ในประเทศไทย จึงทำให้เทศกาลสงกรานต์ของไทยติดอันดับเทศกาลที่มีสีสันที่สุด 1 ใน 5 ของเอเชีย[5]ส่วนในต่างประเทศ ชาวไต หรือชาวไท ในสิบสองปันนา โดยเฉพาะเมืองจี่งหง หรือเมืองเชียงรุ่ง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน [6]โดยเรียกว่างานเทศกาลพัวสุ่ยเจี๋ย[7]
[แก้] รูปแบบทั่วไป
- สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ "ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ "วันสังขารล่อง" (13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล "วันเนา" หรือ "วันเน่า" (14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี "วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย "วันปากปี" (16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆเพื่อขอขมาคารวะ "วันปากเดือน" (17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆ ออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา และ "วันปากวัน" (18 เม.ย.)
- สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ"ตรุษสงกรานต์" บางพื้นที่จะเรียกว่า “เนา” และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
- สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน "วันว่าง" (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น "วันรับเจ้าเมืองใหม่" (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์
- สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันกลาง" หรือ "วันเนา" และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันวันเถลิงศก ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
[แก้] รูปแบบที่แตกต่าง
- สงกรานต์ผูกสายสิญจน์เชื่อมโยงพระธาตุสองแผ่นดิน หรือ สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว ณ อ.เมือง และ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ในงานจะมีการฮดสรง หรือสรงน้ำพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
- สงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ หรือ ประเพณีสงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ ณ เกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จ.ชลบุรี ภายในงานมีกิจกรรมเช่น พิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ พิธีกองข้าวบวงสรวง รดน้ำดำหัว การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน แข่งขันเรือกระทะ เรือชักกะเย่อ มวยตับจาก ปาลูกดอก แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง การแสดงดนตรี และประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ
- สงกรานต์นางดาน หรือ เทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ณ สวนศรีธรรมาโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลสงกรานต์เมืองนครนี้ จะมีมหกรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง กิจกรรมนั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์ นั่งสามล้มโบราณชมเมืองเก่า พิธีพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 6 แหล่ง จตุคามรุ่นสรงน้ำ 50 เป็นต้น
- สงกรานต์ปาร์ตี้โฟม มีพื้นที่ปาร์ตี้โฟมที่ปิดล้อมด้วยพลาสติกใส
- สงกรานต์ล่องเรือสาดน้ำ เช่นที่ตลาดน้ำตลิ่งชัน นักท่องเที่ยวสามารถพบความสนุกสนานจากการนั่งเรือหางยาวสาดน้ำสงกรานต์กับชุมชนริมสองฟากฝั่งคลอง และยังได้ชมสวนกล้วยไม้ ทำบุญให้อาหารปลา หรือแวะซื้อขนมหวาน ผลไม้จากแพ และมีไกด์คอยบรรยายและอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง
- หาดใหญ่ มิดไนท์ สงกรานต์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการจัดกิจกรรมสงกรานต์และการสาดน้ำในยามค่ำคืน ณ ถนนเสน่หานุสรณ์ และถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.00 น. โดยเทศกาลนี้ได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
[แก้] พื้นที่เด่นในการจัดงานสงกรานต์ในประเทศไทย
[แก้] ภาคเหนือ
- ประเพณีสงกรานต์ถนนข้าวแคบ 10-18 เมษายน บริเวณ หาดทรายทองแม่ปิง จังหวัดตาก
- ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง: 13 - 15 เมษายน บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- ปี๋ใหม่เมืองหละปูน 11 - 16 เมษายน ณ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประตูท่าขามเทศบาลเมืองลำพูนและบริเวณรอบคูเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ ศรีสัชนาลัย: 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
- ประเพณีสงกรานต์อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย : 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
- ประเพณีสงกรานต์ "ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์เมืองแป้ นุ่งหม้อห้อมแต้งามตา" : 11 -17 เมษายน บริเวณสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ จังหวัดแพร่
- สลุงหลวง กลองใหญ่ ปี๋ใหม่เมืองนครลำปาง 9 - 13 เมษายน ณ ข่วงนคร เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง
[แก้] ภาคอีสาน
- สงกรานต์ร้อยเอ็ด 13-15 เมษายน บริเวณถนนข้าวหอมมะลิ
- งานมหาสงกรานต์ สรงน้ำพระแก้วบุษราคัม และเทศกาลอาหารไทย - อินโดจีน: 13 - 15 เมษายน บริเวณทุ่งศรีเมือง ถนนดอกไม้และสายน้ำ และวัดศรีอุบลรัตนาราม จังหวัดอุบลราชธานี
- มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย (สงกรานต์ไทย-ลาว) : 6 - 18 เมษายน บริเวณหาดจอมมณีแม่น้ำโขงและวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย
- สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทยลาว: 12 - 15 เมษายน อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
- สุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน-เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว: 8 - 15 เมษายน บริเวณบึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น
- สงกรานต์โคราชแฟนตาซี : 13-15 เมษายน บริเวณลานย่าโมและสวนรัก อ.เมือง จังหวัดนครราชสีมา
- (New 2555) ‘สงกรานต์หลากสี บุรีรัมย์หรรษา’ ณ ลานหน้าสนามไอ-โมบาย สเตเดี้ยม ครั้งแรกในเมืองไทยที่คุณต้องไม่พลาด 13-14 เมษายน
- (New 2554-2555) Chang wonder water land @ Ud town สุดมันส์กับดาราศิลปินคับคั่ง UD town อ.เมือง จังหวัดอุดรธานี
[แก้] ภาคกลาง
- มหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร: 8 - 15 เมษายน บริเวณสนามหลวง ถนนข้าวสาร และรอบเกาะรัตนโกสินทร์
- Summer Fave 2007 city on the beach: 12 - 16 เมษายน ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร
- ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า: บริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา
- ประเพณีสงกรานต์พระประแดง: 17 - 19 เมษายน บริเวณเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- งานประเพณีวันไหลพัทยา-นาเกลือ : 18 - 19 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะลานโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
- ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน: 16 - 17 เมษายน บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
- งานประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว: 19 - 21 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- ประเพณีสงกรานต์เกาะสีชัง: 13 - 19 เมษายน บริเวณเกาะสีชังและเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี
[แก้] ภาคใต้
- งานเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช แห่นางดาน: 11- 15 เมษายน บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- Songkran the Water Festival on the Beach: 12 - 16 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะโลมา และเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
- หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์: 12 - 13 เมษายน บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศและถนนเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- งานสงกรานต์เมืองสุราษฎร์: 13 เมษายน บริเวณ ริมเขื่อนแม่น้ำตาปี ถนนตลาดใหม่ และศาลหลักเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- งานสงกรานต์เกาะสมุย:13-14 เมษายน บริเวณ หาดเฉวง หาดละไม และถนนรอบเกาะสมุย เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
[แก้] สังคมวิจารณ์
วันสงกรานต์เสมือนกับวันครอบครัวที่สมาชิกกลับมารวมตัวกัน นอกจากนั้นยังมีการเล่นน้ำเพื่อความสนุกสนานและคลายร้อน อย่างไรก็ตามในการเล่นน้ำในหลายกรณีมีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การสาดน้ำใส่ผู้ที่ไม่ต้องการเล่นสงกรานต์ การลวนลามสตรีโดยการปะแป้งถูกเนื้อต้องตัว ฯลฯ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจจะปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้[แก้] คำทำนายเกี่ยวกับสงกรานต์
ตามตำราพรหมชาติ ฉบับหลวง[8] ได้ให้คำทำนายเกี่ยวกับวันสงกรานต์ไว้ดังนี้[แก้] วันมหาสงกรานต์
- ถ้าปีใดวันมหาสงกรานต์เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย
- ถ้าวันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแล
- ถ้าวันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้ข้าไท พระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจกันแล
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล ฯ
[แก้] วันเนา
- ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแล
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันเนา เกลือจะแพง นางพระยาจะร้อนใจ มักจะเกิดความไข้ต่าง ๆ
- ถ้าวันอังคารเป็นวันเนา หมากพลู ข้าวปลาจะแพง จะแพ้อำมาตย์มนตรีทั้งปวง
- ถ้าวันพุธเป็นวันเนา ข้าวจะแพง คนทั้งหลายจะได้รับความทุกข์ร้อน แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเนา ลูกไม้จะแพง ตระกูลทั้งหลายจะร้อนใจนักแล
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันเนา ข้าวจะแพง แร้งกาจะตายห่า สัตว์ในป่าจะเกิดอันตราย
- ถ้าวันเสาร์เป็นวันเนา ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์จะร้อนใจนัก ผักปลาจะแพงแล ฯ
[แก้] วันเถลิงศก
- ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแล
- ถ้าวันจันทร์เป็นวันเถลิงศก พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง
- ถ้าวันอังคารเป็นวันเถลิงศก อำมาตย์มนตรีทั้งปวงจะอยู่เย็นเป็นสุข แม้จะต่อยุทธ์ด้วยปัจจามิตร ณ ที่ใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล
- ถ้าวันพุธเป็นวันเถลิงศก ราชบัณฑิต ปุโรหิตโหราจารย์ จะมีสุขสำราญเป็นอันมาก
- ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเถลิงศก สมณะพราหมณาจารย์จะปฏิบัติชอบด้วยธรรมวินัยอันประเสริฐแล
- ถ้าวันศุกร์เป็นวันเถลิงศก พ่อค้าพานิชทั้งหลาย อันไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยพัสดุเงินทอง และมีความสุขเป็นอันมากแล
- ถ้าวันเสาร์เป็นวันเถลิงศก หมู่ทแกล้วทหารทั้งปวง จะประกอบไปด้วยความสุข และวิชาการต่าง ๆ แม้จะกระทำยุทธ์ด้วยข้าศึก ณ ทิศใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล ฯ
[แก้] คำขวัญวันสงกรานต์
- ในปี พ.ศ. 2552 นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการให้คำขวัญในวันนี้ในข้อความว่า "สงกรานต์สมานสามัคคี สืบทอดประเพณี ทุกชีวีปลอดภัย"[9]
- พ.ศ. 2553 มีการประกวดคำขวัญโดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีคำขวัญว่า "สงกรานต์สร้างสรรค์ ยึดมั่นประเพณี ปลอดภัยทุกชีวี สามัคคีทั่วไทย" โดยนายพรเทพ ประดิษฐ์ชัยกุล ชนะการประกวดคำขวัญประจำปีนี้[10]
- พ.ศ. 2555 ในรัฐบาลที่มี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการรณรงค์อุบัติเหตุในช่วงสงกรานต์ โดยมีคำขวัญว่า "รณรงค์ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์"[11]
[แก้] อ้างอิง
- สงกรานต์.เน็ต การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- สงกรานต์ที่แตกต่าง โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 เมษายน 2550 17:12 น.
- ปฏิทิน ประกาศสงกรานต์ วันมหาสงกรานต์ วันเถลิงศก นางสงกรานต์ พ.ศ. 2300-2584
- สมชัย ใจดี และ ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, ประเพณี และ วัฒนธรรมไทย, สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช ,2530, หน้า 41-42
- ^ Waging water wars in a friendly way จากบางกอกโพสต์
- ^ เอื้อน มนเทียรทอง. พระคัมภีร์สุริยยาตรศิวาคม. กรุงเทพฯ: สำนักโหร "หอคำ", ม.ป.ป. [ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่าง ซึ่งยังมีตำราหลายฉบับมากกว่านี้]
- ^ อ้างอิงสูตรคำนวณวันเถลิงศกและเรื่องคัมภีร์สุริยยาตร์จาก สิงห์โต สุริยาอารักษ์. เรื่องฤกษ์และการให้ฤกษ์ ดวงพิชัยสงคราม. กรุงเทพฯ:เกษมบรรณกิจ, ม.ป.ป. และ วิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร), หลวง. คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์พริ้นท์ (ประเทศไทย), 2540
- ^ อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และคณะ, พรหมชาติ ฉบับหลวง, กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส. ธรรมภักดี, ม.ป.ป., หน้า 512-513
- ^ http://www.thairath.co.th/content/oversea/162639
- ^ ประชาชนชนชาติไตของสิบสองปันนาของมณฑลหยูนหนานฉลองเทศกาลสาดน้ำ
- ^ เขตสิบสองปันนาจัดกิจกรรมฉลองปีใหม่ของชนชาติไต
- ^ เรื่องเดียวกัน, หน้า 514
- ^ http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=23506
- ^ http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=23506
- ^ รมว.คมนาคมเปิดงาน'สงกรานต์ปลอดภัยตายเป็นศูนย์'